ทำเนียบแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

ศกร.ระดับตำบลสมุด  : ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอปราสาท

 สำนักงาน สกร.ประจำจังหวัดสุรินทร์

 

1.ชื่อแหล่งเรียนรู้  : วัดเพชรบุรี

              


 

2.เจ้าของแหล่งเรียนรู้/ผู้รู้/ปราชญ์ : พระมหาเอกลักษณ์ สุจิณโณ

3.ที่ตั้ง   :   106 หมู่ที่ 1  บ้านทุ่งมนตะวันตะวันออก ตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

  พิกัด   :   ละติจูด 14.6960457 , ลองจิจูด 103.3102893

Page/Face book : วัดเพชรบุรี  พระมหาเอกลักษณ์ สุจิณโณ

เบอร์โทรศัพท์ : 093-5541912

4. ความเป็นมาโดยย่อ:

ความเป็นมาโดยย่อ:

          วัดเพชรบุรี เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่ ตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นศูนย์รวมใจของพุทธศาสนิกชนชาวตำบลทุ่งมน มานานอย่างน้อย 221 กว่าปี ในปีเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 ได้รับการอนุญาตให้ตั้งวัดอย่างเป็นทางการ  ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับการประกาศจัดตั้งหมู่บ้านตาปาง ตำบลทุ่งมน  อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์  อีกด้วย  จึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า  “เมื่อหลวงพ่อเพชร  หลวงพ่อแก้ว  นำพาคณะสงฆ์และญาติโยมมาร่วมสร้างวัดใหม่แล้ว  ประชาชน     ชาวบ้านทุ่งมน –สมุด ที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสได้พากันอพยพย้ายครัวเรือนมาตั้งถิ่นฐานที่อยู่ใหม่ตรงบริเวณบ้านตาปาง  บ้านตาดอก  บ้านสมุด  เพื่อจะได้ร่วมกันทำนุบำรุงอุปถัมภ์ค้ำชูวัดแห่งใหม่นี้” 

           การปกครองท้องที่ของราชการบ้านเมืองนั้น ในปี พ.ศ. 2530  อยู่ในเขตพื้นที่บ้านตาปาง  หมู่ที่  6  ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์  ต่อมาเมื่อมีการแบ่งเขตการปกครองคณะสงฆ์ตำบลทุ่งมน  ขึ้นมาใหม่  วัดเพชรบุรี จึงถูกเปลี่ยนแปลงจัดให้อยู่ในเขตการปกครองท้องที่ บ้านทุ่งมนตะวันออก  หมู่ที่ 1 ตำบลสมุด  อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์ 

         วัดเพชรบุรี  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่  27  พฤศจิกายน 2371 เขตวิสุงคามสีมามีขนาดกว้าง  8  เมตร  ยาว  16  เมตร 

          คณะสงฆ์วัดเพชรบุรีและญาติโยมพุทธศาสนิกชน นำโดยนายบรัน บานบัว  กำนันตำบลทุ่งมน ได้อาราธนานิมนต์พระครูประสาทพรหมคุณ (หลวงปู่หงษ์  พรหมปัญโญ)  มาพำนักจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสวัดเพชรบุรี  สืบต่อไป จนท่านมรณภาพละสังขาร เมื่อวันที่ 5  เดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 และในยุคสมัยของหลวงปู่หงษ์  พรหมปัญโญ 

ถือได้ว่าเป็นยุคที่รุ่งเรืองมาก  หลวงปู่หงษ์ท่านสร้างชื่อเสียงให้วัดเพชรบุรีได้เป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก โดยเฉพาะเรื่องที่หลวงปู่หงษ์ได้นำพาให้ทุกคนอนุรักษ์ป่าไม้หลายพันไร่  ขุดสระเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ สร้างฝายกั้นน้ำเอาไว้ใช้ในหน้าแล้ง  จนได้รับพระราชทานธง “พิทักษ์ป่า  เพื่อรักษาชีวิต” สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  เมื่อปี พ.ศ. 2540           

        

                  

           สุดท้ายของชีวิตหลวงปู่หงษ์ ก่อนมรณภาพหลายปี ได้มีการเขียนบันทึกข้อความพินัยกรรมไว้ว่า ขอให้ศิษยานุศิษย์บรรจุสังขารของหลวงปู่ ไว้ในโลงแก้ว ให้ศิษยานุศิษย์ได้กราบสักการะบูชาตลอดไป  ณ ปราสาทมรกตจัตุรมุข (หลวงปู่หงษ์  พรหมปัญโญ) หรือปราสาทเพชร สุสานทุ่งมน (วัดเพชรบุรี)

                 

           ปัจจุบัน : พระมหาเอกลักษณ์ สุจิณโณ เป็นเจ้าอาวาสวัดเพชรบุรี

5.ผู้สำรวจ: นางสาวบุณยานุช  บุติมาลย์      ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล

    โทร….097-337491

6.ลักษณะกิจกรรมของแหล่งเรียนรู้ : เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน

7.จุดเด่น

              1.  เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน

              2. วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง

 

8. ผลงาน/รางวัลที่ได้รับ/ความภาคภูมิใจ

    - หลวงปู่หงษ์ สร้างชื่อเสียงให้วัดเพชรบุรี จนได้รับพระราชทาน ธง “พิทักษ์ป่า  เพื่อรักษาชีวิต” สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

รูปภาพ

คำบรรยายภาพ

- วัดเพชรบุรี มีรูปเหมือน พระครูปราสาทพรหมคุณ (หลวงปู่หงษ์  พรหมปัญโญ) เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน

 

- วัดเพชรบุรี  มีวัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง ให้บูชา

 

- วัดเพชรบุรี  มีทรัพยากรป่าไม้ สิ่งแวดล้อมและแหล่งกักเก็บน้ำที่อุดมสมบูรณ์

 

 

 

ปักหมุดสถานที่แหล่งเรียนรู้

วิดีโอแหล่งเรียนรู้

https://www.youtube.com/watch?v=nomzCaDv0L