ทำเนียบแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

กศน.ตำบลสมุด  : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปราสาท

 สำนักงาน กศน.จังหวัดสุรินทร์

1.ชื่อแหล่งเรียนรู้  : ป่าชุมชนประกายเพชรและป่าชุมชนโครอย

2.เจ้าของแหล่งเรียนรู้/ผู้รู้/ปราชญ์ : นายอดิศักดิ์ บุญสวัสดิ์

3.ที่ตั้ง:  135 หมู่ที่ 2  บ้านโชคบรันพัฒนา ตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

Page/Face book : อดิศักดิ์ บุญสวัสดิ์

เบอร์โทรศัพท์ : 064-4645111

4. ความเป็นมาโดยย่อ:

ความเป็นมาโดยย่อ:

ผืนป่าที่เกิดจากความร่วมมือของชาวบ้าน พื้นที่บริเวณตำบลทุ่งมนและตำบลสมุดเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ากำไสจานโดยมี พระครูปราสาทพรหมคุณ (หลวงปู่หงษ์  พรหมปัญโญ) เป็นศูนย์กลางนั้นมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนป่าที่ไหนในประเทศไทย นั่นก็คือมีรั้วทั้งรั้วลวดหนามและรั้วหิน

ในน้ำมีปลา ในป่าต้องมีสัตว์” นี่คือแนวคิดเรียบง่าย แต่สะท้อนถึงความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์อย่างลึกซึ้งของพระครูปราสาทพรหมคุณหรือ “หลวงปู่หงษ์” ที่ชาวจังหวัดสุรินทร์ให้ความเคารพศรัทธามานานกว่า 20 ปี

หลวงปู่หงษ์ไม่เพียงแต่เป็นพระสงฆ์ผู้มรเมตตาจิต เปี่ยมด้วยทานบารมีเท่านั้น หากยังสามารถเชื่อมโยงศรัทธาของประชาชนเข้ากับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมได้อย่างกลมกลืน เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนยึดเหนี่ยวให้ชาวบ้านหันหน้าเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งปัญหาปากท้องและการอนุรักษ์ป่าไม้ กอรปด้วยกิจทรงคุณค่ามากมายอย่างยากที่จะหาสงฆ์รูปใดมาเทียบเทียม

          หลวงปู่หงษ์ ให้เหตุผลในการล้อมรั้วว่า เพื่อให้มีแนวเขตที่ชัดเจนสะดวกในการดูแลรักษา และเป็นการแบ่งเขตรับผิดชอบแก่ชุมชนรอบข้าง เพราะหลังจากล้อมรั้วเสร็จแล้วก็จะมอบให้ชาวบ้านดูแลเป็นส่วนๆ ตั้งชื่อป่าตามชื่อชุมชนนั้นๆ ทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน หมู่บ้านไหนใกล้ป่าส่วนไหนก็ตั้งกรรมการขึ้นมาดูแลส่วนนั้น ป่าบางแห่งอยู่ในการดูแลร่วมกันมากกว่า 1 หมู่บ้าน ก็ตั้งกรรมการบริหารร่วมกันตรวจตราดูแล แต่ถ้าเป็นป่าที่ล้อมด้วยรั้วหิน นอกจากจะมีมนุษย์เป็นเวรยามแล้วยังมีงูสารพัดชนิดจำนวนแสนกว่าตัว คอยช่วยดูแลอีกด้วย งูเหล่านี้หลวงปู่หงษ์ ให้นำมาปล่อยไว้ในป่าทั่วๆไป ซึ่งงูก็อาศัยอยู่ตามโพรงหินที่อยู่รอบผืนป่านั่นเอง แต่ก็ไม่เคยปรากฏว่ามีชาวบ้านที่ไปเก็บพืชผักในป่าเคยถูกงูกัดแม้แต่ครั้งเดียว หลวงปู่บอกว่า งูอาศัยอยู่ในป่า หากไม่ทำร้ายป่างูก็ไม่ทำร้ายคน  “ปลูกป่าได้มากกว่าต้นไม้”หลวงปู่หงษ์ไม่ได้ปลูกต้นไม้ให้เต็มป่าเพียงอย่างเดียวหากท่านปลูกชีวิตใหม่ให้ผู้คนด้วย

5.ผู้สำรวจ: นางสาวบุณยานุช  บุติมาลย์      ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล

  โทร….097-3374918

6.ลักษณะกิจกรรมของแหล่งเรียนรู้

  - การรักษาป่าอย่างยั่งยืน เพิ่มพื้นที่สีเขียว ไม่ใช่การปลูก แต่ต้องไม่ทำลาย และการไม่ทำลายก็ต้องให้ชาวบ้านมีอาชีพ

  - ส่งเสริมโครงการสวนสมุนไพรในป่าชุมชน และโครงการปลูกผักกินได้ เช่น ผักหวาน ดอกกระเจียว เพาะพันธุ์

    ไข่มดแดง  เลี้ยงป่า

7.จุดเด่น

    -  อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม

    -  ประโยชน์และคุณค่าของป่า ทั้งแหล่งอาหาร ยา สมุนไพร

     -   ตระตุ้นให้ชุมชนเกิดการตื่นตัวในการร่วมมือกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ  ป่า    

8. ผลงาน/รางวัลที่ได้รับ/ความภาคภูมิใจ

    -  ผลงานรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 3  ประจำปี 2544

  -   เป็นแหล่งอาหาร ยา สมุนไพร

รูปภาพ

คำบรรยายภาพ

- พระครูปราสาทพรหมคุณ (หลวงปู่หงษ์  พรหมปัญโญ) เป็นศูนย์กลางผืนป่าที่เกิดจากความร่วมมือของชาวบ้าน

- เป็นแหล่งอาหาร ยา สมุนไพร

- อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม ของหน่วยงานราชการ และคนในชุมชนโดยการปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียว